4 ม.ค. 2022

การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม

การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม

 

เรียบเรียงโดย อังสนา ฉั่วสุวรรณ์

 

น้ำจัดเป็นอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกาย

นอกจากเป็นส่วนประกอบของร่างกายแล้ว น้ำยังช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย

ตามปกติคนเราต้องการดื่มน้ำประมาณ 6-8 แก้ว หรือ 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน น้ำดื่มควรเป็นน้ำสะอาด

ปราศจากเชื้อโรค และสิ่งเจือปนต่างๆ หากร่างกายได้รับน้ำที่มีสารพิษ อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็น

อันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารพิษบางตัวก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคร้ายต่างๆ ที่ยากแก่การรักษา

ในปัจจุบันน้ำดื่มที่ได้รับความนิยมมาก คือน้ำประปา น้ำผ่านเครื่องกรอง น้ำดื่มบรรจุขวด

ซึ่งน้ำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต และกรรมวิธีการผลิต กล่าวคือ น้ำประปา

บางแหล่งก็มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภค บางแหล่งก็ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

น้ำผ่านเครื่องกรอง และน้ำดื่มบรรจุขวดบางยี่ห้อได้รับการจดทะเบียนอาหารถูกต้องตามกฎหมาย

บางยี่ห้อก็ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอาหาร จึงเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่จะต้องมีจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบในการผลิต และจัดจำหน่าย รวมทั้งต้องมีหน่วยราชการที่คอยตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานน้ำดื่มให้สูงขึ้น มาตรฐานของน้ำดื่มซึ่งเป็นที่ยอมรับ  เช่น

1. ประกาศกระทรางสาธารณสุขฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยึดถือเป็นมาตรฐานเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนอาหาร

2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257 (2521)

ทั้ง 2 มาตรฐานนี้มีรายการตรวจวิเคราะห์ และเกณฑ์กำหนดใกล้เคียงกัน น้ำดื่มที่จะขอขึ้นทะเบียนอาหาร หรือขอใช้ฉลากอาหารจาก อย. ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 64 และฉบับที่ 135

การตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มให้ได้ผลถูกต้อง แม่นยำ จำต้องคำนึงถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การเก็บตัวอย่าง ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งมีผลต่อสภาพตัวอย่าง และตัวอย่างที่เก็บมาสามารถเป็นตัวแทนของตัวอย่างทั้งหมดได้ เนื่องจากเราไม่สามารถจะวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทั้งหมด จึงต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เมื่อได้ตัวอย่างที่เหมาะสมแล้วจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลของตัวอย่าง เช่น ชนิดและชื่อของตัวอย่าง สถานที่ และเวลาที่เก็บตัวอย่าง

2. การรักษาคุณภาพน้ำตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำควรกระทำทันทีที่ได้รับตัวอย่าง

แต่เนื่องจากมีรายการที่ต้องวิเคราะห์มาก  จึงไม่สามารถทำได้ทันทุกรายการ จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษา

คุณภาพตัวอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดี มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส และต้องคอยระวังไม่ให้เป็นน้ำแข็ง นอกจากนั้นยังมีวิธีการเก็บรักษาคุณภาพตัวอย่างน้ำที่เหมาะสม สำหรับแต่ละรายการที่วิเคราะห์

3. การวิเคราะห์ทดสอบ ต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละการวิเคราะห์ ซึ่งต้องคำนึงถึง

ความถูกต้อง แม่นยำ และขีดความสามารถของวิธีการวิเคราะห์ว่า  เหมาะสมกับลักษณะตัวอย่าง หรือไม่ เครื่องมืออุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้องเหมาะสม และได้รับการดูแลอย่างดี รวมทั้งผู้วิเคราะห์ต้องมีความระมัดระวังและศึกษาถึงคุณลักษณะของตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์อย่างถูกต้อง และรอบคอบ

4. การรายงานผล ต้องรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างถูกต้อง และมีนัยสำคัญตามกระบวนการทางสถิติที่เหมาะสม

 

น้ำดื่ม pure

เทียบจำนวนน้ำขวด
ที่คุณซื้อดื่ม*

ขวด/ปี

=

คิดเป็นจำนวนเงิน*

43,800 บาท/ปี

=

เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำ
คุณจ่ายเพียง**

เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำ
คุณจ่ายเพียง**

40,479 บาท/ปี
ขวด/ปี
43,800 บาท/ปี
40,479 บาท/ปี

สะดวกกว่า

ประหยัดทั้งเวลาและแรงในการขน
ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหมด

ลดการใช้พลาสติก

ช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี
และป้องกันภาวะโลกร้อน

* การคำนวณเป็นเพียงการประมาณการเบื้องต้น โดยประเมินจากการซื้อน้ำขวด 1 ลิตร ในราคาขวดละ 12 บาท

** คำนวณจากเครื่องกรองน้ำรุ่น PURE DM01 UV โดยอายุการใช้งานเฉลี่ย 10,000 ลิตร มีการเปลี่ยนไส้กรองทั้งหมดปีละครั้ง และเปลี่ยนหลอด UV ทุกสองปี

*** การคำนวณเป็นเพียงการคาดการณ์อายุการใช้งานโดยเฉลี่ย ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง เช่น คุณภาพของน้ำที่กรอง การดูแลและรักษาตัวเครื่อง เป็นต้น

เลือกเครื่องกรองน้ำ

เครื่องกรองน้ำแนะนำจากบทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามเราทางอีเมล

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและกิจกรรม
พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ และบทความที่น่าสนใจ
จากเราได้ก่อนใคร!