เทียบจำนวนน้ำขวด
ที่คุณซื้อดื่ม*
7 ธ.ค. 2022
กระบวนการผลิตน้ำดื่ม
ขั้นตอนการผลิตน้ำดื่ม
นับวัน ความต้องการบริโภคนํ้าดื่มบรรจุขวดจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรและรายได้ของครัวเรือน ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่มองเห็นโอกาสทางการตลาด เข้าสู่ธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก
แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมผลิตนํ้าดื่มจะขยายตัวค่อนข้างสูง ทว่า ธุรกิจนี้ได้ประสบกับภาวะการแข่งขันมากด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจนี้ ควรศึกษาข้อมูล ดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
1. ศักยภาพของผู้ประกอบการ
• ขยัน อดทน ธุรกิจนํ้าดื่มมีการแข่งขันกันสูง ผู้ประกอบการจึงต้องมีความขยันในการหาตลาด
• มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและรักงานบริการ น้ำดื่มเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งมากในแต่ละเขต ดังนั้น ผู้ประกอบ
การจึงควรมีการบริการที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
• มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ตั้งอยู่ไม่ไกลจากชุมชน และมีเส้นทางขนส่งสะดวก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ในการขนส่ง
2. การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนี้
1. หน่วยงานท้องที่ ในเรื่องการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และการชำระภาษีโรงเรือน
2. กรมโรงงาน หากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงาน ดูได้จากจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร
3. กรมทรัพยากรธรณี ในกรณีที่ไม่มีนํ้าประปา หรือนํ้าประปาไม่เพียงพอ
4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการจัดตั้งกิจการ
5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด เช่น การขออนุญาตผลิตอาหาร
และการขอเครื่องหมาย อย.
6. ภาษี เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. หน่วยงานท้องถิ่น/สำ นักงานเขต
♦ การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร
ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่า สถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่น
ใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
และส่วนราชการท้องถิ่นนั้น มีข้อกำหนดให้การผลิตอาหารต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่
สถานที่ติดต่อ
กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักงานเขต
ต่างจังหวัด ติดต่อราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาร
ส่วนตำบล
ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต
ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไป ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1,000 บาท แต่อัตราสูงสุด
ที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 10,000 บาท
ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก http://www.fda.moph.go.th/fdanet/
html/product/other/kbs3/fdframe.htm
♦ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
- สถานที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการสามารถชำระได้ยังสำนักงานเขต ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้ง
อยู่
ต่างจังหวัด ชำระได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล
รายละเอียดการเสียภาษี ผู้สนใจสามารถศึกษาได้ที่ http://www.bma.go.th/html/page4.html
2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม
สถานที่เข้าข่ายโรงงาน สามารถแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. โรงงานประเภท 1 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 5 – 20 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 20
คน โรงงานประเภทนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงและ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
2. โรงงานประเภท 2 มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 20 – 50 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 50 คน เมื่อจะ
เริ่มประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่
โรงงานตั้งอยู่
3. โรงงานประเภท 3 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเกิน 50 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50
คน หรือโรงงานประเภท 1 และ 2 ที่มีการใช้ ฟืน ขี้เลื่อย หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ผู้
ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตก่อน จึงจะตั้งโรงงานได้
การชำระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มีตั้งแต่ 500 บาท สูงสุด 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าของ
เครื่องจักร
ค่าธรรมเนียมรายปี ตั้งแต่ 150 บาท สูงสุด 18,000 บาท ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2
และ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ถ้าผู้ประกอบการมิ
ได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน
สถานที่ชำระค่าธรรมเนียม
โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ชำระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ส่วนโรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชำระที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm
3. การขออนุญาตกับกรมทรัพยากรธรณี
♦ การขอใช้นํ้าบาดาลและการขออนุญาตเจาะนํ้าบาดาล
ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องนํ้า คือนํ้าประปาไปไม่ถึง หรือนํ้าประปาเข้าถึง แต่ไม่เพียงพอต่อ
การผลิตสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตการใช้น้ำบาดาลกับกรมทรัพยากรธรณี
สถานที่ยื่นคำขอ
กองควบคุมกิจการนํ้าบาดาล หรือฝ่ายพัฒนานํ้าบาดาล หรือทรัพยากรธรณีประจำ ท้องที่ หรือ
อุตสาหกรรมจังหวัด
รายละเอียดการขออนุญาต ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.dmr.go.th/service/TSOOOOOM.htm
4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- การจัดตั้งธุรกิจ/รูปแบบธุรกิจ
รายละเอียดการจัดตั้งธุรกิจ / การขออนุญาต ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thairegistration.com/thai/register/detail5.phtml
5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
♦ การขออนุญาตผลิตอาหาร
สำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ผลิต
อาหารต่อสำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
สถานที่ติดต่อ (กรณีเข้าข่ายโรงงาน)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสา
ธารณสุข
ต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่
รายละเอียดการขออนุญาต ผู้ประกอบการสามารถศึกษาเพิ่มได้ที่
http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm
♦ การขออนุญาตผลิตภัณฑ์ (ขอเครื่องหมาย อย.)
ผู้ประกอบการโรงงานน้ำ ดื่มจะต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกำหนด และนำผล
วิเคราะห์มายื่นขออนุญาตผลิตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)/สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัด (สสจ.)
สถานที่ออกใบอนุญาต (เครื่องหมาย อย.)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสา
ธารณสุข ถ.ติวานนท์ นนทบุรี 11000
ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่
รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการขออนุญาต ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm
หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี หรือจีเอ็มพี (Good Manufacturing Practice : GMP) ในการผลิตนํ้า
ดื่ม
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้
กำหนดให้ธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวด เป็นหนึ่งในสินค้าที่ต้องกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการ
ผลิต และการเก็บรักษาสินค้าตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีหรือจีเอ็มพี (Good Manufacturing
Practice : GMP) ในการผลิตนํ้าดื่ม GMP มีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการนํ้าดื่มรายใหม่ในวันที่
24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมมีเวลาปรับปรุง เพื่อให้ถูกต้องตามมาตร
ฐานเป็นเวลา 2 ปี หรือเริ่มบังคับใช้วันที่ 24 กรกฎาคม 2546 สำ หรับสาระสำคัญของมาตรฐาน
GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมี 11 ประเด็น สรุปได้ ดังนี้
1. สถานที่ผลิตและอาคารที่ผลิต จะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่สะอาด ไม่มีการสะสมของสิ่งเหลือใช้ หรือ
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งต้องมีวิธีป้องกันสิ่งปนเปื้อน ทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรค แมลงและสัตว์นำโรค
สถานที่ผลิตจะต้องถูกออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะง่ายต่อการทำความสะอาด นอกจากนี้ ต้อง
แบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ประการสำคัญ ต้องแยกพื้นที่สำหรับ
ผลิตสินค้าออกจากบริเวณที่อยู่อาศัยและห้องนํ้าห้องส้วมอย่างชัดเจน
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต จะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ติด
ตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และถูกล้างทำ ความสะอาดฆ่าเชื้อ
อย่างเพียงพอทั้งก่อนและหลังการผลิต
3. แหล่งนํ้า แหล่งนํ้าที่นำมาใช้ผลิตนํ้าดื่มต้องห่างจากแหล่งโสโครกและสิ่งปฏิกูล โดยผู้ผลิตต้อง
เก็บตัวอย่างนํ้าไปตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์อย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง
4. การปรับคุณภาพน้ำ ผู้ประกอบการตอ้งปรับคุณภาพของแหล่งน้ำ ตามข้อ 3 เพื่อกำจัดสิ่งปน
เปื้อน ให้อยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด
5. ภาชนะบรรจุ ต้องทำจากวัสดุไม่มีพิษ และได้รับการทำความสะอาดก่อนนำมาใช้
6. สารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ผู้ผลิตจะต้องทดสอบประสิทธิภาพการทำความสะอาด และ
การฆ่าเชื้อ
7. การบรรจุ ด้วยเครื่องบรรจุที่มีประสิทธิภาพ และสะอาด
8. การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ผู้ประกอบการต้องตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มที่ผลิต ทั้งด้านจุลินทรีย์
เคมี ฟิสิกส์ เป็นประจำ
9. การสุขาภิบาล ผู้ผลิตต้องมีวิธีกำจัดสัตว์และแมลง รวมทั้งระบบกำจัดของเสียในโรงงานที่
เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับสินค้าที่ผลิต
10. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง รวมทั้งจะต้อง
รักษาร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ ในขณะที่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หากเข้ามาในพื้นที่
ผลิต ก็ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายด้วยเช่นกัน
11. บันทึกและรายงาน ผู้ผลิตต้องบันทึก และรายงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์น้ำ สภาพการ
ทำงานของเครื่องกรอง หรือเครื่องฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งคุณภาพของนํ้าดื่ม ทั้งด้านเคมี ฟิสิกส์ และ
จุลชีววิทยา
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา
http://www1.fda.moph.go.th/consumer/csmb/csmb2545.nsf/c5fea1b96750d7b880256849004e9ab4/d399
80312929c2a4c7256be200280db0?OpenDocument
หรือ http://www2.fda.moph.go.th/law/search/frmsrch.asp?product=3
6. กรมสรรพากร
- การเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายละเอียดการจดทะเบียน / ชำระภาษี ผู้ประกอบการสามารถศึกษาได้ที่
http://www.ismed.or.th/knowledge/alpha/body1/body1.htm
หรือที่ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th
=
คิดเป็นจำนวนเงิน*
43,800 บาท/ปี
=
เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำ
คุณจ่ายเพียง**
เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำ
คุณจ่ายเพียง**
สะดวกกว่า
ประหยัดทั้งเวลาและแรงในการขน
ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหมด
ลดการใช้พลาสติก
ช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี
และป้องกันภาวะโลกร้อน
* การคำนวณเป็นเพียงการประมาณการเบื้องต้น โดยประเมินจากการซื้อน้ำขวด 1 ลิตร ในราคาขวดละ 12 บาท
** คำนวณจากเครื่องกรองน้ำรุ่น PURE DM01 UV โดยอายุการใช้งานเฉลี่ย 10,000 ลิตร มีการเปลี่ยนไส้กรองทั้งหมดปีละครั้ง และเปลี่ยนหลอด UV ทุกสองปี
*** การคำนวณเป็นเพียงการคาดการณ์อายุการใช้งานโดยเฉลี่ย ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง เช่น คุณภาพของน้ำที่กรอง การดูแลและรักษาตัวเครื่อง เป็นต้น